การแบ่งชนิดของแบคทีเรียสามารถแบ่งได้หลายแบบ
เช่น
- แบ่งตามการติดสีย้อมแกรม (Gram stain) ถ้าติดสีน้ำเงินเรียกว่าแบคทีเรียชนิดแกรมบวก (Gram positive bacteria) ถ้าติดสีแดงเรียกว่าแบคทีเรียชนิด แกรมลบ (Gram negative bacteria) ดังได้กล่าวแล้ว
- แบ่งตามรูปร่างของแบคทีเรีย เช่น แบคทีเรียรูปร่างกลมเรียกว่าคอคคัส (Coccus) แบคทีเรียรูปร่างเป็นแท่งเรียกว่า บาซิลลัส (Bacillus)
- แบ่งตามการใช้ออกซิเจนของแบคทีเรีย แบคทีเรียที่ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิตเรียกว่า แอโรบิคแบคทีเรีย(Aerobic bacteria) แบคทีเรียที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิตเรียกว่า แอนแอโรบิคแบคทีเรีย (Anaerobic bacte ria)
การเกิดโรค
- แบคทีเรียชนิดแกรมบวก มักทำให้เกิดโรคแบบติดเชื้อเป็นหนองที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจส่วนต้น (จมูก และลำคอ) และปอดบวม
- แบคทีเรียชนิดแกรมลบ มักทำให้เกิดโรคที่ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และถุงน้ำดี
- แบคทีเรียชนิดแอโรบิค มักทำให้เกิดโรคในอวัยวะที่มีออกซิเจนพอเพียง เช่น ผิวหนัง ช่องปาก ปอด ทางเดินหายใจ กระเพาะปัสสาวะ
- แอนแอโรบิคแบคทีเรีย มักทำให้เกิดโรคในบริเวณที่มีออกซิเจนน้อย เช่น เชื้อบาดทะยัก (โรคบาดทะยัก) ซึ่งเป็นแอนแอโรบิคแบคทีเรียชนิดหนึ่งทำให้เกิดโรคในแผลลึกๆที่ถูกตะปูตำ หรือการติดเชื้อในช่องท้องที่เกิดจากการทะลุของลำไส้ เป็นต้น
ความรุนแรงของโรค
- แบคทีเรียชนิดแกรมบวกที่รูปร่างเป็นคอคคัส มักทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองที่ผิวหนัง ต่อมทอนซิล ทางเดินหายใจ ปอด อาการมักจะไม่รุนแรง และรักษาได้ผลดีด้วยยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin)
- แบคทีเรียชนิดแกรมลบที่รูปร่างเป็นบาซิลลัส มักทำให้เกิดโรคในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ไต ถุงน้ำดีไส้ติ่ง (โรคไส้ติ่งอักเสบ) การรักษายากกว่าเพราะมักดื้อต่อยาปฏิชีวนะ (เชื้อดื้อยา) และมีโอกาสที่เชื้อจะแพร่ไปในกระแสเลือด (โลหิต) เกิดภาวะช็อกตามมาได้
- แบคทีเรียชนิดแอโรบิค มักทำให้เกิดโรคที่ผิวหนัง ช่องปาก ทาง เดินหายใจ ปอด อาการมักไม่รุนแรง และรักษาหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ทั่ว ไป
- แบคทีเรียชนิดแอนแอโรบิค ทำให้เกิดโรคที่ร้ายแรง เช่น โรคบาดทะยัก เพราะมีการสร้างสารพิษออกมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีผลต่อระบบประสาท (Neurotoxin) สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดแอนแอโรบิคในช่องท้องมักจะดื้อต่อยาปฏิชีวนะทั่วไป และต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดพิเศษที่เฉพาะเจาะจงต่อแบคทีเรียชนิดนี้ ทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผล
การใช้ยา
- แบคทีเรียชนิดแกรมบวกรูปร่างคอคคัส ส่วนใหญ่ใช้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน
- แบคทีเรียชนิดแกรมลบรูปร่างบาซิลลัส จะใช้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะในกลุ่มซัลฟา (Sulfonamide) เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) อมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycoside) เป็นต้น
- แบคทีเรียชนิดแอโรบิค รักษาด้วยยาปฏิชีวนะหลายกลุ่ม เช่น เพนิ ซิลลิน ซัลฟา อมิโนกลัยโคไซด์
- แอนแอโรบิคแบคทีเรีย มักต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Car bapenem เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น