โรคจากแบคทีเรียติดต่อได้ไหม? ติดเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?

โรคจากแบคทีเรียเป็นโรคติดต่อ ทั้งนี้ เราสามารถติดเชื้อแบคทีเรีย ได้หลายวิธี โดยวิธีที่พบบ่อย ได้แก่

  • ทางการหายใจ โดยหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียในอากาศเข้าไปในทางเดินหายใจและปอดของเรา เช่น การติดเชื้อวัณโรค เป็นต้น การอยู่ใกล้ชิดกับคนที่มีเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ ไอ จาม หรือจูบปากสามารถนำไปสู่การติดเชื้อได้
  • ทางการกินอาหารและดื่มน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคท้องร่วง (ท้องเสีย) โรคไทฟอยด์ และอหิวาตกโรค เป็นต้น
  • ทางการสัมผัสผิวหนังของคนที่เป็นโรค เช่น โรคเรื้อน
  • ทางการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน เช่น โรคหนองใน และโรคแผลริมอ่อน
  • ทางการเป็นแผลที่สัมผัสกับดิน มีดบาดโดยมีดสกปรก แบคทีเรียในสิ่ง แวดล้อมเข้าทางบาดแผลที่ผิวหนัง เกิดการอักเสบเป็นหนองตามมา
  • ทางฟันผุ ฟันที่ผุเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อแบคทีเรียได้ดี และอาจเข้าสู่กระแสเลือดทางฟันที่ผุนั้น จากนั้นแบคทีเรียจะไปเกาะติดที่ลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียที่ลิ้นหัวใจได้ (Infective endocarditis)
  • จากการทำแท้งที่ไม่สะอาด การทำแท้งโดยขูดมดลูกด้วยเครื่องมือที่สกปรกมีเชื้อแบคทีเรียปะปน สามารถเกิดการติดเชื้อรุนแรงในโพรงมดลูกได้ และมักรุนแรงถึงต้องตัดมดลูก หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • จากการสักผิวหนัง แกะสิว เจาะหู แคะหู ตัดเล็บ ทำเล็บโดยใช้เครื่องมือไม่สะอาดมีเชื้อแบคทีเรียปะปน เกิดการอักเสบเป็นหนองตามตำแหน่ง เหล่านั้นได้
  • จากการใช้เข็มฉีดยาสกปรก ฉีดเข้าหลอดเลือด เช่น ฉีดยาเสพติด เชื้อแบคทีเรียที่เข้าหลอดเลือดนั้นสามารถไปเกาะที่ลิ้นหัวใจทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้
  • จากเชื้อไชเข้าทางผิวหนังโดยตรง เช่น โรคฉี่หนู (Leptospirosis) ซึ่งมักอยู่ตามพื้นดินในนาข้าว สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ถ้าเดินในนาโดยไม่สวมใส่รอง เท้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น