การป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้แก่
ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากคนที่กำลังเป็นโรคโดยใช้วิธีการป้องกันและรักษาความสะอาดของตนเองเป็นหลัก
ซึ่งรวมถึงการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เช่น
- การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อเข้าทางลมหายใจ
- การรับประทานเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
- ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร
- ล้างมือทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
- ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยด้วยมือเปล่า เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใสเพราะอาจติดโรคได้
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนหนาแน่นหรือไม่มีที่ระบายอากาศที่เพียงพอ
- มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและใช้ถุงยางอนามัยเสมอ
- ไม่ใช้ยาเสพติดทุกชนิด
- ไม่ทำให้ร่างกายอ่อนแอด้วยการอดหลับอดนอนหรือเที่ยวกลางคืน
- ไม่ดื่มเหล้าและไม่สูบบุหรี่
- อย่าจูบปากกับคนที่ไม่รู้จักหรือไม่รู้ว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
- อย่าใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น
- นอนกางมุ้งอย่าให้ยุงลายกัด
- ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน
- ถ้ามีผู้ป่วยในบ้านควรแยกผู้ป่วยในห้องส่วนตัวห่างจากคนอื่นๆเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
- และควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัขและแมวทุกตัวในบ้าน
อีกวิธีคือ การฉีดวัคซีนป้องกัน เช่น
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคอีสุกอี ใส โรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis
B virus) โรคหัดเยอรมัน โรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
โรคคางทูม หยอดวัคซีนโปลิโอทางปากในเด็ก และปลูกฝีป้องกันโรคไข้ทรพิษ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ทุกชนิด
เพราะมีอีกหลายโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเช่น โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก
นอกจากนั้นบางคนได้วัคซีนแล้วร่างกายไม่ยอมสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานก็มีอยู่บ่อยๆ
หรือบางทีได้วัคซีนแล้ว แต่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานไม่ทัน เช่น
โรคพิษสุนัขบ้าในบางรายที่ระยะฟักตัวสั้นมากก็จะเป็นโรคก่อนที่จะป้องกันได้
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น